วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

วิศวกรรมเครื่องกล

วิศวกรรมเครื่องกล (อังกฤษ: Mechanical engineering) เป็นวิชาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์และกฎทางฟิสิกส์เพื่อการประดิษฐ์ การผลิต และการดูแลรักษาระบบเชิงกล วิศวกรรมเครื่องกลเป็นหนึ่งในสาขาทางวิศวกรรมที่เก่าแก่ที่สุดและมีขอบข่ายกว้างขวางที่สุด

การศึกษาวิศวกรรมเครื่องกลนั้นจำเป็นต้องมีความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของหลักกลศาสตร์ พลศาสตร์ อุณหพลศาสตร์ กลศาสตร์ของไหลและพลังงานเป็นอย่างดี วิศวกรเครื่องกลนั้นสามารถใช้หลักการณ์พื้นฐานได้ดีพอกับความรู้อื่นๆในงานภาคสนามเพื่อการออกแบบและวิเคราะห์ยานยนต์ อากาศยาน ระบบทำความร้อนและความเย็น เรือ ระบบการผลิต จักรกลและอุปกรณ์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น



http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5

ถามวิศวะ: เราเหมาะกับวิศวะไหม?



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=XxACpSG61Js

จรรยาบรรณของวิศวกร

จรรยาบรรณ ข้อ 8
“วิศวกรพึงพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ทางวิชาชีพของตนตลอดเวลาที่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
และให้ความสำคัญในการช่วยเหลือส่งเสริมเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์
ให้แก่วิศวกรในความดูแลของตนอย่างจริงจัง”
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของจรรยาบรรณข้อนี้ วิศวกรต้อง
(1) พัฒนาตนเองในด้านความรู้และความก้าวหน้าในวิชาชีพวิศวกรรม
(2) เผยแพร่ความรู้วิชาชีพวิศวกรรม
(3) ให้ความร่วมมือในการส่งเสริมวิชาชีพวิศวกรรม โดยการแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้และประสบการณ์กับวิศวกรอื่น
(4) สนับสนุนให้ลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาในงานวิชาชีพของตนได้ศึกษาต่อ
(5) สนับสนุนนิสิตนักศึกษา ในการเพิ่มพูนความรู้ด้านวิชาชีพวิศวกรรม
(6) สนับสนุนโครงการและกิจการด้านวิศวกรรมขององค์กรวิชาชีพวิศวกรรม และสถาบันการศึกษาต่างๆ

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

          วิศวกรญี่ปุ่น เตรียมสร้างลิฟท์เชื่อมโลกกับอวกาศ







MThai News : สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า กลุ่มวิศวกรชาวญี่ปุ่นเตรียมสร้างลิฟท์ขนาดใหญ่ที่บรรจุคนได้มาก กว่า 30 คน ให้คนทั่วไปได้ทะยานสู่อวกาศ เป็นระยะทางกว่า 22,000 ไมล์ ในอีก 40 ปีข้างหน้า

ทั้งนี้ จะมีสถานีอวกาศบนโลกและให้ลิฟท์เป็นตัวเชื่อมไปสู่สถานีอวกาศอีกแห่งหนึ่งนอกโลก คนที่จะขึ้นไปจะฝึกการอยู่บนอวกาศแบบง่ายๆ ก่อนจะได้ชื่นชมความสวยงามนอกโลก ซึ่งลิฟท์จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วถึง 120 ไมล์ต่อชั่วโมง (192 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ด้วยความเร็วดังกล่าวในเวลาหนึ่งสัปดาห์ ลิฟต์จะพานักท่องเที่ยวเดินทางไปได้ราว 1 ใน 4 ของระยะทางจากโลกไปสู่ดวงจันทร์

นอกจากนี้ ยังมีแผนอนุญาตให้เหล่านักวิทยาศาสตร์เดินทางต่อไปจากสถานีอวกาศผ่านทางสายพานคาร์บอนไฟเบอร์ที่ใช้ยึดดาวเทียมดวงหนึ่งที่อยู่บนอวกาศกับโลกของเราที่อยู่เบื้องล่าง คาดกันว่ามูลค่าของโครงการนี้น่าจะอยู่ที่ 6 พันล้านปอนด์ (ราว 3 แสนล้านบาท)

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการกำหนดความชัดเจนในโครงการ ว่าจะสร้างลิฟท์ไว้ที่ใด แต่มีแนวคิดที่จะใช้แท่นแห่งหนึ่งนอกชายฝั่งเอกวาดอร์เป็นสถานีบนโลก เพราะอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรและอยู่ใกล้อวกาศมากที่สุด
                          


     คุณภาพ วิศวกรไทย


คนในวิชาชีพวิศวกรรมกำลังผจญมรสุมไม่น้อย มีทั้งปัญหาภายในและภายนอก โดยที่คนนอกวงการไม่รู้เรื่อง


แต่ถ้าถามคนในวงการต่างยอมรับว่า


มันเกิดวิกฤตภาพลักษณ์จริงๆ


เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ตึกถล่ม ถนนทรุด สะพานพัง รวมไปถึงงานก่อสร้างโปรเจกต์ใหญ่ๆที่มีข่าวใหญ่โต ต่างก็พุ่งเป้าความผิดไปที่บรรดาวิศวกร


จนมีการเรียกร้องให้ยกมาตรฐาน จัดระเบียบวิชาชีพวิศวกรขึ้นมาใหม่ เพราะเกรงว่า อนาคตวิศวกรไทยจะตกต่ำ !?!?


ต้นเหตุมาจาก คุณภาพของวิศวกรไทยไร้คุณภาพอย่างนั้นหรือ...?


วิศวกรเยอะ แต่...


“ตอนนี้วิศวะมีเยอะมาก เพราะมีการเปิดสอนกันมากขึ้น จึงเกรงกันว่า ปัญหาด้านคุณภาพจะตามมา หากไม่มีการควบคุมคุณภาพการศึกษา เพราะวิศวะสามารถสร้างชาติและทำลายชาติได้”รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (ว.ส.ท.)ให้ความเห็น


เขาจะพูดเสมอบนเวทีสัมมนาในเรื่องวิศวกรรม เพราะต้องการยกระดับคนประกอบวิชาชีพนี้ให้ทัดเทียมกับอารยะประเทศ
“คุณลองไปดูสิงคโปร์มีวิศวกรร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆออกมา มากกว่าคนไทยสิบเท่าตัว ทั้งที่เรามีคนมากกว่า วิศวะต่อไปต้องเป็นนักคิด นักประดิษฐ์ ร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดคุณค่ามากขึ้น ซึ่งจะช่วยเหลือเศรษฐกิจในภาพรวมได้”เขาระบุ


หลายคนบอกว่า หากคุณไปเดินบนห้างสรรพสินค้าสักแห่ง คุณจะเจอคนมีอาชีพเป็นวิศวกร คละไปกับคนอื่น ขณะที่นักศึกษาด้านวิศวะก็จะพบเห็นได้ง่ายๆ ตามท้องถนน แตกต่างจากอดีตที่ ใครเรียนวิศวะ จนได้ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตจะถูกยกย่องว่า เป็นคนเก่ง มีความรู้ความสามารถ และแถบจะเจอได้น้อยมากนักศึกษาวิศวะพุ่งพรวด
                   
ที่มา  :  http://www.unigang.com/Article/3677
     
                       

กว่าจะเป็นวิศวกร 1 จากรายการกบนอกกะลาค่ะ สำหรับคนที่มุ่งมั่นจะเป็นวิศวกร

คุยกับวิศวกร

มารู้จักอาชีพวิศวกรไฟฟ้ากันบ้างค่ะว่าเป็นอย่างไร ??


 รู้จักอาชีพวิศวกรไฟฟ้า
       


นิยามอาชีพ 
       


             ออกแบบระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์กับส่วนประกอบทางไฟฟ้า รวมทั้งการวางแผนและการควบคุมการผลิต การก่อสร้าง การติดตั้ง การทดสอบ การใช้ การบำรุงรักษา การวิจัย การพัฒนา การเปลี่ยนแปลงแก้ไขและการซ่อม การจัดให้มีการใช้พลังงาน  ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ และการอนุรักษ์พลังงาน : วางแผนผังระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่าง ๆ;จัดทำตารางปฏิบัติงาน เขียนแบบร่าง แบบวาด และแผนทางไฟ เตรียมข้อมูลและรายละเอียดในการทำงาน และระบุวิธีการผลิต การก่อสร้าง การติดตั้ง วัสดุ และเครื่องมือที่จะต้องใช้ : ประมาณค่าแรงงาน ค่าวัสดุ ค่าผลิต ค่าก่อสร้าง ค่าติดตั้ง และค่าดำเนินการ;ทดสอบเพื่อประเมินคุณภาพ ประสิทธิภาพ ลักษณะการปฏิบัติงานที่ตรงตามรายละเอียดที่ระบุไว้ความปลอดภัยตามเกณฑ์มาตรฐาน และมาตรฐานอื่นๆ; วางแผนและควบคุมการใช้และการบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า รวมถึงการให้คำแนะนำและการฝึกอบรมการปฏิบัติงานทางวิศวกรรมไฟฟ้า


      1.  ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกั บงานที่ต้องปฏิบัติ
           2.  ออกแบบระบบไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์กับส่วนประกอบทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
           3.เตรียมข้อมูลและรายละเอียดในการทำงาน และระบุวิธีการผลิต การก่อสร้าง การติดตั้งวัสดุ และเครื่องมือที่ต้องใช้ ประมาณค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าผลิต ค่าก่อสร้าง ค่าติดตั้ง และค่าดำเนินการ
           4.  วางแผนและควบคุมการผลิต  การก่อสร้าง  การติดตั้ง การทดสอบ   การใช้ การบำรุงรักษา การพัฒนา การเปลี่ยนแปลง แก้ไข และการซ่อม
           5.  วางแผนผังระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กับอุปกรณ์ต่างๆ
           6.จัดทำตารางปฏิบัติงานเขียนแบบร่าง แบบวาด และแผนทางไฟ
           7.ทำการตรวจตราและทดสอบเพื่อประเมินคุณภาพ ประสิทธิภาพ ลักษณะการปฏิบัติงานที่ตรงตามรายละเอียดที่ระบุไว้ ความปลอดภัย ตามเกณฑ์มาตรฐานและมาตรฐานอื่นๆ
           8.  วางแผนและควบคุมการใช้ การบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ เช่นสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีพลังงาน
           9.ให้คำแนะนำและทำการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางวิศวกรรมไฟฟ้า


ที่มา :  http://www.vcharkarn.com/electric/article/view.php?id=42630


วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

คุณภาพวิศวกรกับคุณภาพนักศึกษาที่จบมามีความสัมพันธ์กันอย่างไร? 
     คุณภาพนักศึกษาที่จบมาหรือที่เรียกว่าวิศวกรใหม่ ถ้ามีความรู้ระหว่างวิศวกรใหม่ที่มีความรู้มากกับวิศวกรใหม่ที่มีความรู้น้อยต่างกันมาก ก็ยิ่งทำให้วิศวกรที่ทำงานไปนานจะมีความรู้ต่างกันมากๆระหว่างวิศวกรด้วยกันเองดังแสดงในรูปที่ 2
  รูปที่ 2

ถ้าคุณภาพนักศึกษาที่จบมาหรือที่เรียกว่าวิศวกรใหม่ ได้มีการควบคุมคุณภาพให้ดีและได้วิศวกรที่มีคุณภาพดีจบออกมาจะได้กราฟดังแสดงในรูปที่ 3 คือ วิศวกรใหม่ที่มีความรู้มากกับที่มีความรู้น้อยไม่ห่างกันมาก นอกจากนี้ค่าเฉลี่ยของความรู้ของวิศวกรใหม่ก็สูงกว่าที่เป็นอยู่ในรูปที่ 2 และเมื่อวิศวกรทำงานไปนานๆความรู้ก็กระจายออกมาก แต่อย่างไรก็ตามความรู้ก็ยังสูงกว่าที่แสดงในรูปที่ 2

รูปที่ 3
วิศวกรในรูปที่ 3 เมื่อจบมานานๆการกระจายความรู้กว้างมากขึ้น นั่นคือวิศวกรที่มีความรู้มากกับวิศวกรที่มีความรู้น้อยห่างกันมาก ดังนั้นถ้ามีกลไกมาช่วยเหลือวิศวกรเพื่อเพิ่มคุณภาพก็จะทำให้วิศวกรที่มีคุณภาพมากและที่มีคุณภาพน้อยก็ไม่ห่างกันมากดังแสดงในรูปที่ 4

รูปที่ 4