วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กบนอกกะลา ตอนกว่าจะเป็นวิศวกร2 ต่อจากวิศวกร1 ที่เคยนำมาโพสต์นะคะ

ตอนที่ 1





ตอนที่ 2



ตอนที่ 3




ตอนที่ 4

เคมีวิศวกรรม

เรียนแล้วได้อะไรบ้าง ?
    ได้ความรู้และทักษะที่สำคัญต่อการนำไปใช้ในการทำงานรวมถึงการศึกษาในระดับสูงขึ้น มีโอกาสเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศในขณะที่เรียนอยู่ มีโอกาสเข้าฝึกงานและดูงานในบริษัท โรงงานอุตสาหกรรมชั้นนำข องประเทศ


จบเคมีวิศวกรรมแล้วทำงานอะไรได้บ้าง ?
    บัณฑิตจากภาควิชาเคมีเทคนิค ส่วนใหญ่ทำงานเป็นวิศวกรเคมีหรือวิศวกรกระบวนการในอุตสาหกรรมกระบวนการต่าง ๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเลียมซึ่งหมายถึงโรงกลั่นน้ำมัน เช่น ไทยออยล์, บางจาก , เอสโซ่ , Rayong Refinery อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง อันประกอบด้วย โรงแยกแก๊สของ ปตท. โรงงานผลิตเม็ดพลาสติก เช่น ปิโตรเคมีแห่งชาติ (NPC) ไทยโพลีเอธิลีน (TPE) ของเคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย , ไทยอะโรมาติกส์ (TAC) , ไทยโอเลฟินส์ (TOC) , ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ (TPC) , อุตสาหกรรมไทยปิโตรเคมี(TPI) เป็นต้นอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น สารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภค เช่น ผงซักฟอก สบู่ แชมพู ยาสีฟัน อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น น้ำตาก กระดาษ ยา วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น


ที่มา :  http://www.unigang.com/Article/1086

วิศวกรรมน่าทึ่ง! จีนสร้างโรงแรม 15 ชั้น 6 วันเสร็จ

เก่งจริง ๆ เจ๋งมากทำไปได้

นิยามอาชีพวิศวกร คอมพิวเตอร์

         
           วางแผน ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ ทดสอบและประเมินผลระบบเครือข่าย Lan, Wan, Internet และระบบสื่อสารข้อมูลอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย หรือผู้เชี่ยวชาญด้านเครือข่ายที่ต้องทำการออกแบบ ติดตั้งและสนับสนุนระบบเครือข่ายขององค์กร อีกทั้งทำการบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ปัญหาและตรวจสอบระบบเครือข่ายเพื่อให้ผู้ใช้สามารถงานได้

ชะตากรรมของวิศวกรไฟฟ้า


           เนื่องจากวิศวกรรมไฟฟ้า ได้กลายมาเป็นสาขาวิชาพื้นฐานที่เกี่ยวเนื่องกันกับสาขาวิชาชีพอื่นๆจำนวนมาก ที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทำให้วิศวกรไฟฟ้าต้องเรียนพื้นฐานวิชาเป็นวงกว้างในระดับมหาวิทยาลัย กลายเป็น Generalists ไปโดยปริยาย
จึงเกิดความจำเป็นที่วิศวกรไฟฟ้า ที่มีความประสงค์จะฝึกเป็น Specialists จะต้องหาโอกาสเรียนรู้เพิ่มเติมให้เกิดความเข้าใจในพิ้นที่งานที่ตนเองทำอยู่อย่างชัดเจน ซึ่งอาจทำได้โดยการเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ในหลักสูตรมหาบัณฑิตย์ หรือจากการติดตามเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง จาก สมาคมอาชีพเทคโนโลยีที่ตนสังกัด
ในปี 2005 IEEE พบว่า เท่าที่ผ่านมาในอดีต วิศวกรไฟฟ้าโดยส่วนใหญ่ มักไม่ค่อยมีโอกาสปฏิบัติภารกิจทางวิศวกรรมไฟฟ้า ร่วมกันกับเพื่อนวิศวกรไฟฟ้าด้วยกันเอง แต่มีความจำเป็นต้องปฏิบัติภารกิจวิศวกรรมไฟฟ้า ร่วมกันกับมืออาชีพในสาขาวิชาอื่นๆที่มีความแตกต่างกันในอาชีพอย่างสิ้นเชิง  จึงตกเป็นความจำเป็น ที่ วิศวกรไฟฟ้า โดยส่วนใหญ่ จะต้องหาทางติดตามเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง จาก สมาคมอาชีพเทคโนโลยี ที่ตนสังกัด  และตกเป็นความจำเป็น ที่ สมาคมอาชีพวิศวกรรมไฟฟ้า จะต้องรับภาระหน้าที่ ในการถ่ายทอดวิทยาการเทคโนโลยี (Transfer of Technology) ที่ถูกต้อง และทันสมัย ให้แก่สมาชิกวิศวกรไฟฟ้า โดยรวม


วิศวกรเครื่องกล



นิยามอาชีพ
     ผู้ปฏิบัติงานวิศวกรเครื่องกล-Mechanical-engineer-Heating-ventilating-and-refrigerating ได้แก่ผู้ออกแบบอุปกรณ์และแผนผังระบบทำความร้อน ระบายอากาศ การทำความเย็น และอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งวางแผน และควบคุมการผลิต การติดตั้ง การใช้ และการซ่อม ทำการตรวจตรา และทดสอบ ทำงานวิจัย และให้คำแนะนำทางเทคนิคต่างๆ

ลักษณะของงานที่ทำ
   ออกแบบอุปกรณ์และแผนผังระบบทำความร้อน การระบายอากาศ การทำความเย็น และระบที่คล้ายคลึงกัน วางแผนงาน และควบคุมการผลิต การติดตั้ง การใช้และการซ่อม กำหนดแบบของเครื่องจักร คำนวณต้นทุน และวิธีการผลิต 

วิศวกรรมโยธา (CIVIL ENGINEERING)

นิยามเกี่ยวกับอาชีพวิศวกรโยธา
      ออกแบบ คำนวณ วางแผน จัดระบบงาน ควบคุมงานโครงการ พิจารณาตรวจสอบ ให้คำปรึกษาด้านการก่อสร้างอาคารโรงงาน อาคารสาธารณะ สะพาน อู่เรือ เขื่อนกั้นน้ำ กำแพงกั้นน้ำ โครงสร้างอื่น รวมทั้งการติดตั้ง การใช้และการบำรุงเครื่องจักรต่าง ๆ : พิจารณาโครงการ สำรวจหาสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการก่อสร้าง


ลักษณะของงานที่วิศวกรโยธาต้องรับผิดชอบ
    วางแผน จัดระบบงาน และควบคุมงานสร้างถนน สะพาน อุโมงค์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งต่างๆ ทำงานเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร ตลอดจนการติดตั้ง การใช้และการบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิกและระบบสาธารณสุขอื่นๆ พิจารณาโครงการ และทำงานสำรวจเพื่อหาสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการ ก่อสร้าง สำรวจและประเมินลักษณะ และความหนาแน่นของการจราจรทางอากาศทางบก และทางน้ำเพื่อพิจารณาว่าจะมีผลต่อโครงการอย่างไรบ้าง สำรวจดูพื้นผิวดินและใต้ผิวดินว่าจะมีผลต่อการก่อสร้างอย่างใด และเหมาะสมที่จะรองรับสิ่งก่อสร้างเพียงใด ปรึกษาหารือในเรื่องโครงการกับผู้ชำนาญงานสาขาอื่นๆ 


ที่มา : http://www.civilteam.net/